ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์

หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

ปรัชญา

                มุ่งพัฒนาบัณฑิตที่มีความสามารถบูรณาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยศาสตร์พระราชา

วิสัยทัศน์

                มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นนักสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความรู้ ความสามารถ และคุณธรรม ปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีคุณภาพ สนองความต้องการหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน

ความสำคัญ

                นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมต้องมีความรู้ และทักษะด้านการปฏิบัติการทั้งในภาคสนาม และวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาชีพนั้น เป็นนักค้นคว้าเรียนรู้ตลอดเวลา เพื่อไปประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม มีกระบวนการคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหา วิธีแนวคิดด้วยตนเองและประกอบอาชีพที่ส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องพบปะกับคนที่ไม่รู้จักกันมาก่อน คนที่มาจากหน่วยงานอื่นๆ และคนที่จะเป็นผู้บังคับบัญชาหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งความสามารถที่จะปรับตัวเข้าหากลุ่มคนของบัณฑิตในหลักสูตรนี้จะเข้าไปมีบทบาทในการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ดีในการอนุรักษ์ ปรับปรุง และแก้ไขสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรให้แก่ชุมชนและท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขันด้านการค้า การลงทุน เข้าสู่ยุค “ประเทศไทย 4.0” สังคมสีเขียว และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (SDGs) ซึ่งจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความสมดุลของการพัฒนา สภาพแวดล้อมที่ดี และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรต่อไป

ประวัติความเป็นมาของหลักสูตร

                บทบาทและหน้าที่ในการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เริ่มแรกการบริหารและการจัดการของโปรแกรมวิชาอยู่ภายใต้การดูแลของภาควิชาชีววิทยา โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภา อุ่นสกุล เป็นหัวหน้าโปรแกรมวิชา ในสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้ทำการบริหารและจัดการโปรแกรมวิชานี้ เพื่อโดยผลิตบัณฑิตเพื่อออกไปเป็นนักสิ่งแวดล้อมระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (วท.บ.) โดยเปิดการสอนทั้งภาคปกติ และภาคการศึกษาเพื่อบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) ซึ่งในภายหลังได้เปลี่ยนจากการศึกษาเพื่อบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) เป็นการศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.ปช.) และในปี พ.ศ. 2546 ได้เปิดสอนสาขาการจัดการสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นเพื่อให้เป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้เรียนที่สนใจในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ในส่วนของการจัดการระบบการบริหารของโปรแกรมวิชาจะเน้นการอำนวยความสะดวกต่อการจัดการศึกษาและการดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้ทรัพยากรทางการศึกษาอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

                ในปี พ.ศ. 2550 หลักสูตรได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร โดยคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบ ในการประชุมครั้งที่ 5/2550 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2550 และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษารับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรนี้แล้ว เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2550 โดยมีชื่อเต็ม คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Bachelor of Science Program in Environmental Science)

                ในปี พ.ศ. 2555 หลักสูตรได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร โดยคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ ครั้งที่ 3 /2555 วันที่ 19 เมษายน 2555 และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษารับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรนี้ ซึ่งมีชื่อเต็ม คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Bachelor of Science Program in Environmental Science)

                ในปี พ.ศ. 2560 หลักสูตรได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร โดยคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ ครั้งที่ 9 /2559 วันที่ 1 กันยายน 2559 และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษารับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรนี้ ซึ่งมีชื่อเต็ม คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Bachelor of Science Program in Environmental Science)

                ปี พ.ศ. 2562 หลักสูตรได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร โดยคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ ครั้งที่ 13 /2561 วันที่ 6 กันยายน 2561 และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษารับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรนี้ ซึ่งมีชื่อเต็ม คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (Bachelor of Science Program in Environmental Science and Technology) จนถึงปัจจุบัน

โครงสร้างหลักสูตร

1. ชื่อหลักสูตร
    ภาษาไทย วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม)
    ภาษาอังกฤษ Bachelor of Science (Environmental Science and Technology)
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    ภาษาไทย ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม)
ชื่อย่อ : วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม)
    ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Environmental Science and Technology)
ชื่อย่อ : B.Sc. (Environmental Science and Technology)
    จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 139 หน่วยกิต
3. รูปแบบของหลักสูตร
    รูปแบบ เป็นหลักสูตรระดับคุณวุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
    ประเภทหลักสูตร เป็นหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
    ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย
    การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ ที่มีความรู้และสามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา


    1) สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าที่เรียนสายวิทย์-คณิต หรือเรียนทางวิทยาศาสตร์
    2) ผ่านการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ/หรือข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานีว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. 2557 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 (ภาคผนวก ก)

โครงสร้างหลักสูตร

1.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 139 หน่วยกิต
1.2 โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาดังนี้
     1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวนไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
     2) หมวดวิชาเฉพาะด้าน จำนวนไม่น้อยกว่า 91 หน่วยกิต
         2.1) วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 41 หน่วยกิต
         1) กลุ่มวิชาแกน (พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์) 26 หน่วยกิต
              1.1.) วิชาคณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
              1.2.) วิชาเคมีรวมบทปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต
              1.3.) วิชาชีววิทยารวมบทปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต
              1.4.) วิชาฟิสิกส์รวมบทปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต
         2.) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์เฉพาะด้านไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
              2.1.) วิชาเคมีวิเคราะห์รวมบทปฏิบัติการ 4 หน่วยกิต
              2.2.) วิชาเคมีอินทรีย์รวมบทปฏิบัติการ 4 หน่วยกิต
              2.3.) วิชาชีวเคมีรวมบทปฏิบัติการ 4 หน่วยกิต
              2.4.) วิชาสถิติ 3 หน่วยกิต
         2.2.) วิชาเฉพาะด้านบังคับ ไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต
              2.2.1.) กลุ่มวิชาพื้นฐานทางสิ่งแวดล้อม ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
              2.2.2.) กลุ่มวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
                  - วิชาด้านมลพิษสิ่งแวดล้อมและการควบคุม ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
                  - วิชาด้านเทคโนโลยี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
              2.2.3.) กลุ่มวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
              2.2.4.) กลุ่มวิชาการวิจัยและจริยธรรม ไม่น้อยกว่า 5 หน่วยกิต
         2.3.) วิชาเลือกเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
     3) หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
     4) หมวดวิชาประสบการณ์ภาคสนาม 6 หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. ผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่กำหนดในประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2558 สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และสาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
2. ผู้ควบคุมมลพิษตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านวิทยาศาสตร์ สาขาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และด้านควบคุมมลพิษ ได้แก่ ผู้ควบคุมมลพิษทางน้ำ ผู้ควบคุมมลพิษอากาศ ผู้ควบคุมมลพิษเสียงและความสั่นสะเทือน ผู้ควบคุมขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
3. นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม นักวิชาการประจำห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม ของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน บริษัท และโรงงานอุตสาหกรรม
4. นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทางสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่ตรวจประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อม
5. บุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์

Environmental Science VRU

Environmental Science VRU